พ.ศ. 2520
สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย ได้ก่อตั้งขึ้นโดยมี ดร.ประเชิญ กาญจนโนมัย เป็นนายกสมาคมฯ คนแรก ซึ่งขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้ากลุ่มวิทยาการวัชพืช กองวิทยาการ กรมวิชาการเกษตร ท่านเป็นผู้ริเริ่มการทำนาหว่านน้ำตมแผนใหม่ในเขตนาชลประทาน ทำให้การเกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการวัชพืชครั้งสำคัญ
พ.ศ. 2524-2530
นายกสมาคมฯ ท่านที่ 2 คือ รองศาสตราจารย์ ดร. อัมพร สุวรรณเมฆ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศไทยมีปัญหาการระบาดของไมยราพ-ยักษ์ในภาคเหนือ สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย ได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตร จัดสัมมนาเรื่องประโยชน์และโทษของไมยราพยักษ์ต่อการพัฒนา และทำงานวิจัยเพื่อหาทางกำจัดไมยราพยักษ์ในเขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง และพื้นที่ไม่ทำการเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ จนสามารถควบคุมพื้นที่การระบาดได้สำเร็จ และได้ริเริ่มเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมวิชาการวัชพืชนานาชาติ Tropical Weed Science Conference ขึ้นเป็นครั้งแรก ที่จังหวัดภูเก็ตในปี 2527 และครั้งที่สองที่จังหวัดสงขลาในปี 2529
พ.ศ. 2531-2533
นายกสมาคมฯ ท่านที่ 3 คือ นายวิสูตร จันทรางศุ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งตำแหน่งผู้อำนวยการกองพฤกษศาสตร์และวัชพืช กรมวิชาการเกษตร
พ.ศ. 2534-2538
มีนายกสมาคมฯ ท่านที่ 4 คือ ดร.ประสาน วงศาโรจน์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานวิทยาการวัชพืช กองพฤกษศาสตร์และวัชพืช
พ.ศ. 2539-2543
นายกสมาคมฯ ท่านที่ 5 คือ ศาสตราจารย์ ดร.รังสิต สุวรรณมรรคา ขณะนั้นดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัย- เกษตรศาสตร์ ผลงานสำคัญ คือ ประเทศไทย โดยสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทยร่วมกับกรมวิชาการเกษตร เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการวัชพืชนานาชาติ Asian Pacific Weed Science Conference ครั้งที่ 19 ที่กรุงเทพฯ
พ.ศ. 2544-2549
นายกสมาคมฯ ท่านที่ 6 คือ ดร.เกลียวพันธ์ สุวรรณรักษ์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านวัชพืช กรมวิชาการเกษตร ผลงานสำคัญ คือจัดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “พาราควอทกับสิ่งแวดล้อม” ในปี 2533 และ ในปี 2538 สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมวิชาการด้านอารักขาพืช คือ สมาคมกีฏและสัตววิทยา สมาคมนักโรคพืชแห่งประเทศไทย สมาคมอารักขาพืชไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตรและสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ที่จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. 2550-2551
นายกสมาคมฯ ท่านที่ 7 คือ นายทวี แสงทอง ขณะนั้นดำรงตำแหน่งนักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ผลงานสำคัญ คือ จัดสัมมนาวิชาการเรื่องวัชพืชต้านทานสารกำจัดวัชพืช โดยเชิญ Prof. Steve Powles ซึ่งเป็นนักวิจัย ชั้นนำระดับโลก ด้าน Herbicide Resistance จากประเทศออสเตรเลีย มาเป็นวิทยาการรับเชิญ
พ.ศ. 2552-2553
นายกสมาคมฯ ท่านที่ 8 คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งคณบดี คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต-กำแพงแสน ปัจจุบันเป็นรองอธิการบดีวิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลงานสำคัญ คือ ปี 2553 ร่วมมือกับ FAO จัดประชุมระดมสมอง เรื่อง Regional Workshop on Integrated Management of Weedy Rice มีนักวิจัยวัชพืชชั้นนำจากกลุ่มประเทศในทวีปเอเชีย และอเมริกา และสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 30 คน เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ด้านข้าววัชพืช
พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน
นายกสมาคมฯ ท่านที่ 9 คือ ดร.จรรยา มณีโชติ ผู้เชี่ยวชาญด้าน-วัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร มีผลงานที่ผ่านมามีดังนี้
• 2554-
จัดฝึกอบรมเรื่อง การจำแนกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของวัชพืช ให้แก่สมาชิกของสมาคมฯ
• 2555-
จัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง Biopesticides โดยเชิญ Prof. Michael Braverman จาก Rutgers University รัฐนิเจอร์ซี สหรัฐอเมริกามาเป็นผู้บรรยายให้ความรู้แก่นักวิชาการ ด้านอารักขาพืชของประเทศไทย
• 2556-
ร่วมกับกรมวิชาการเกษตรเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Tropical weed Science Conference ครั้งที่ 4 ที่จังหวัดเชียงใหม่
• 2557-
เป็นเจ้าภาพร่วมกับ Crop Life Asia จัดการประชุมระดมสมอง เรื่อง Guidelines of herbicide registration in minor crops in Thailand ที่ โรงแรมอามารี แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ
• 2557-
ร่วมกับภาคเอกชนจัดทำโปสเตอร์ วัชพืชดื้อยาในนาข้าว จำนวน 30,000 แผ่น เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ให้ชาวนา ภาครัฐและเอกชน นำไปใช้ในการเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชให้ถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา วัชพืชดื้อยา และเตือนภัยการระบาดของวัชพืชดื้อยาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ร่วมกับภาคเอกชนจัดทำโปสเตอร์ วัชพืชดื้อยาในนาข้าว จำนวน 30,000 แผ่น เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ให้ชาวนา ภาครัฐและเอกชน นำไปใช้ในการเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชให้ถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา วัชพืชดื้อยา และเตือนภัยการระบาดของวัชพืชดื้อยาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ตลอดระยะเวลา 37 ปีที่ผ่านมา สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย แลกเปลี่ยนความรู้ เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านวัชพืชระหว่างนักวัชพืชของไทยและนานาชาติ ตลอดจนทำงานร่วมกับหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน ในการแก้ปัญหาวัชพืชร้ายแรงที่เกิดขึ้นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป